บทความข่าวสาร

หน้าแรก  »  Travel   »   วัดมหาธาตุ เพชรบุรี ตามรอยวัดเก่าแก่หลวงพ่ออู่ทอง หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ เมืองเพชร

วัดมหาธาตุ เพชรบุรี ตามรอยวัดเก่าแก่หลวงพ่ออู่ทอง หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ เมืองเพชร

Wat mahathat worawihara

วัดมหาธาตุ เพชรบุรี หรือ วัดมหาธาตุวรวิหาร หนึ่งในวัดที่เรียกได้ว่าเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองเพชรบุรี พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารที่มีความสำคัญในอดีตเป็นร่องรอยของอารยธรรมแบบเขมร (พระปรางค์ห้ายอด) ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยทวาราวดี (พระปรางค์เป็นศิลาแลง) ทำให้ไม่สามารถระบุหลักฐานแน่ชัดว่าถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยใด แต่การคาดการณ์ตามอายุจึงได้รับการสันนิษฐานว่าน่าจะสร้าง สมัยทวารวดี – สุโขทัย ในช่วงอายุราว 800 – 1,000 ปี สาเหตุเพราะว่าขุดพบซากอิฐสมัยทวารวดีอยู่เป็นจำนวนมาก คาดเดาไว้ว่าน่าจะเคยเป็นวัดที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นพระอารามหลวงมาก่อน

Wat mahathat worawihara naka

ภายหลังมีพระวิหารหลวงที่สร้างในช่วงปลายยุคกรุงศรีอยุธยา ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศภายในพระวิหารหลวงมีพระพุทธรูปประธานเป็นปรางค์ทรงราชาภรณ์ และ ยังเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์วัดมหาธาตุเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าบันประดับปูนปั้นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑที่เรียกได้ว่าวิจิตรงดงามอลังการ จากฝีมือของเหล่าสกุลช่างเพชรบุรีที่ได้ฝากไว้เป็นมรดกแห่งแผ่นดิน แม้ว่าภายหลังต่อมาชำรุดทรุดโทรม สมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงในปี พ.ศ. 2459

วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีเป็นอย่างมากภายในพระปรางค์เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ประกอบกับพิพิธภัณฑ์ของวัด ที่เป็นสถานที่รวมรวมศิลปะความเป็นมาต่าง ๆของวัด

ตำนานความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับวัดมหาธาตุ เพชรบุรี

Wat mahathat worawihara buddha

นครโบราณอย่าง “เพชรบุรี” ก็มีวัดมหาธาตุประจำเมืองชาวเมืองเพชรบุรี หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ เป็นศูนย์รวมทางจิตใจเสมอ มักจะขอพรเพื่อโชคลาภและความเป็นสิริมงคล ในพระวิหารประกอบด้วยช้างคู่เสี่ยงทาย ที่มีความแม่นยำในการเสี่ยงทายที่ทำนายทายทักในเรื่องความสำเร็จในหน้าที่การงาน

สถาปัตยกรรมของวัดมหาธาตุ เพชรบุรี

พระวิหารหลวง

Wat mahathat worawihara loyal vihara

พระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ เพชรบุรี ถูกสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ช่วงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. 2275 – 2301) มีพระพุทธรูปที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปประธานทรงราชาภรณ์ และ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุปางมารวิชัย ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อวัดมหาธาตุ ผนังภายในพระวิหารหลวงประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม หน้าบันประดับด้วยลวดลายปูนปั้นเทพชุมนุม พระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค มีพญาวานรแบกครุฑอยู่อีกชั้นหนึ่งประดับพระเมรุมาศพื้นหลังเป็นลายกนก

พระวิหารน้อย

Wat mahathat worawihara vihara noy

พระวิหารน้อย วัดมหาธาตุ เพชรบุรี เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย อยู่ระหว่างพระวิหารหลวงกับพระอุโบสถ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่ออู่ทอง ศิลปะแบบอู่ทอง

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

Wat mahathat worawihara mural

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดมหาธาตุ เพชรบุรี ตามฝาผนังด้านในโบสถ์เมื่อมองไปรอบๆ จะเป็นภาพจิตรกรรมที่ประดับอยู่ในโบสถ์ โดยภาพที่ได้เห็นในโบสถ์จะเป็นภาพที่มีอายุค่อนข้างเก่าแก่ ถึงแม้ว่าจะมีการเสียหายในส่วนครึ่งล่างคาดว่าน่าจะอยู่ในลักษณะคล้ายถูกน้ำท่วมเป็นเวลานานในระดับที่ภาพเลือนหายไป ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายอย่างมาก

พระปรางค์ 5 ยอด

Wat mahathat worawihara prang

พระปรางค์ 5 ยอด วัดมหาธาตุวรวิหาร วัดมหาธาตุ เพชรบุรี มีพระปรางค์ 5 ยอด เป็นสัญลักษณ์สำคัญในเขตพุทธาวาส มีอายุอยู่ในช่วงราวๆ 1,000 ปีก่อนหน้านี้ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ระเบียงมีพระพุทธรูปประดิษฐานจำนวน 193 องค์ เป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย

รอยพระพุทธบาทจำลอง

Wat mahathat worawihara buddha footpoint

รอยพระพุทธบาทจำลอง วัดมหาธาตุ เพชรบุรี อยู๋ด้านหลังขององค์พระประธาน ประตูพระวิหารหลวงชั้นใน

วัดมหาธาตุวรวิหาร หรือ วัดมหาธาตุ เพชรบุรี อำเภอเมือง จ.เพชรบุรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชร ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 500 เมตร

Wat mahathat worawihara phetchaburi

 

©2014-2021 ROYAL-TH.CO ALL RIGHTS RESERVED.